การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่า

เป็นการผ่าตัดเพื่อใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กเพื่อส่องตรวจดูภายในข้อโดยผ่านแผล ขนาดเล็ก (ประมาณ 5 มิลลิเมตร) อุปกรณ์ประกอบไปด้วยกล้องและเลนส์ ซึ่งส่งสัญญาณภาพบนจอโทรทัศน์ ทำให้สามารถเห็น และทำการผ่าตัดผ่านจอโทรทัศน์ได โดยในปัจจุบันได้พัฒนาเครื่องมือซึ่งสามารถจะทำการผ่าตัดเย็บซ่อมเอ็น, หมอนรองกระดูก, ทำความสะอาดข้อ ฯลฯ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนประกอบที่เห็นในเข่า เข่าเป็นส่วนต่อของกระดูกต้นขา (Femur) กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) และกระดูกสะบ้า (Petella) โดยบริเวณผิวกระดูกจะมีกระดูกอ่อน สึกหรือไม่เรียบซึ่งมักเกิดจากความเสื่อมก็จะเรียกว่าข้อเข่าเสื่อม เข่าเป็นบริเวณที่นิยมรักษากันด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล้องเป็นอย่างมาก ภายในเข่าจะประกอบด้วย เยื่อบุเข่ารูปตัวซีทำหน้าที่ลดแรงกระแทก รู้จักกันดีในชื่อ หมอนรองกระดูกเข่า (Meniscus ) บ่อยครั้งพบว่า มีการฉีกขาด และสามารถซ่อมแซม ตัดทิ้งได้โดยการส่องกล้อง ขึ้นกับลักษณะ ตำแหน่งที่มีการฉีกขาด แค่ตัดตำแหน่งที่มีการฉีกขาดทิ้ง ก็สามารถรับแรงกระแทกได้ต่อไป เยื่อหุ้มที่คลุม
ข้ออยู่ ก็สามารถมีการฉีกขาด หรือ บาดเจ็บได้ จากการฉีกขาดของกระดูกอ่อน หรือมีการฉีกขาดจากข้อที่มีการอักเสบ การฉีกขาดของผิวข้อสามารถทำให้ กลับเข้าที่เดิมได้โดย ยิงหมุดยึดกลับเข้าไป โดยการผ่านกล้อง โดยใช้หมุดที่รองรับแรงกระแทกได้ ถึงแม้ข้ออักเสบไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ตรงตำแหน่งที่มีการฉีกขาด ถ้าไปตัดทำให้ เรียบก็จะทำให้ มีการซ่อมแซมผิวข้อตัวมันเองใหม่ได้ การส่องกล้องใช้ในการวินิจฉัยและการรักษา ได้แก่

  • เส้นเอ็นหรือหมอนรองข้อเข่าฉีกขาด
  • ปวดข้อเรื้อรังจากข้อเสื่อม
  • กระดูกอ่อนสึกกร่อนอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้อีก เช่น การติดเชื้อ, โรครูมาตอยด์ เป็นต้น ข้อที่กระดูกอ่อนสึกกร่อนจะมีอาการปวด บวม แต่ปัญหาสำคัญของกระดูกอ่อน คือ ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ถ้าสึกไปแล้วก็จะเป็นถาวร จึงมีความสำคัญที่ต้องรักษาก่อนที่กระดูกอ่อนจะสึกหรอ
  • หมอนรองกระดูกเข่า (Meniscus) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายรูปตัวซี ทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกของข้อเข่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเข่าทำให้ฉีกขาดได้ทำให้มีอาการเจ็บและบวมหรือ แม้กระทั่งเข่าติด ขยับไม่ได้ " การส่องกล้องผ่านเข่า สามารถทำการซ่อมแซม เปลี่ยนเส้นเอ็นในข้อเข่า ได้แก่ เส้นเอ็น Anterior และ Posterior ซึ่งเป็นเส้นเอ็นที่มีความจำเป็นในเรื่องความมั่นคงของข้อเข่า พบว่าฉีกขาดได้มากในนักกีฬา โดยเฉพาะในพวก เส้นเอ็น Anterior ฉีกขาด ซึ่งจะมีอาการเข่างอทันทีทันใดในขณะใช้งาน ถึงแม้ว่าภาวะนี้จะดีขึ้นได้โดยการ Rehabilitation (เวชศาสตร์ฟื้นฟู) ในบางคน แต่ในส่วนมากภาวะนี้ก็ยังจะสร้างปัญหาได้ต่อไปเรื่อยๆ และต้องการผ่าตัดซ่อมแซม ในอดีต ต้องผ่าตัดแบบเปิดใหญ่ ใช้เวลาในการฟื้นตัวนาน ซึ่งการผ่าตัดส่องกล้องจะฟื้นตัวได้เร็ว ปวดน้อย เข้าโปรแกรมฟื้นฟูได้เร็ว ภาวะอื่นๆที่สามารถใช้การส่องกล้องได้ เช่น ปวดกระดูกสะบ้า หรือไม่เสถียร การส่องกล้องสามารถเข้าไป ตัดพังผืดที่ยึดหรือเอาเศษกระดูกที่แตกออกมา โดยที่ตัวกระดูกกลับเหมือนเดิมได้เร็ว และไม่มีแผลเป็น
ข้อดีของการส่องกล้องข้อเข่า

ภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า เช่น การติดเชื้อ, ข้อบวม, เลือดคั่งในข้อ (พบได้น้อยกว่า 1%) เอ็นข้อเข่า เป็นเอ็นเส้นใหญ่ซึ่งทำหน้าที่ยึดข้อให้มั่นคง ในกรณีที่มีการพลิก, บิดของข้อเข่ารุนแรงจะทำให้เอ็นฉีกขาด ในระยะแรกจะพบว่าหลังอุบัติเหตุจะมีเข่าบวมทันที และไม่สามารถใช้เข่าได้ตามปกติ ในระยะหลังถ้าไม่รักษา เข่าจะหลวมและไม่สามารถใช้เข่าได้ตามปกติ ทำให้เดิน, หมุนตัว หรือเล่นกีฬาไม่ได้เนื่องจากเข่าไม่ มั่นคงและที่สำคัญคือจะทำให้เข่าเสื่อมได้เร็วกว่าปกติ การผ่าตัดสร้างเอ็นเข่า (Ligament Reconstruction) สามารถทำได้ด้วยแผลขนาดเล็กโดยใช้กล้องผ่าตัด ทำให้การฟื้นฟูและระยะเวลาการรักษาลดลงมากเมื่อเทียบกับการรักษาแบบผ่าตัด เปิดแผลแบบเดิม การนอนโรงพยาบาลน้อยวัน ประมาณ 1-2 วัน และสามารถเดินได้โดยใช้ไม้ค้ำยัน ส่วนการเดินลงย้ำหนักได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของการบาดเจ็บและผ่าตัด