มะเร็งต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อ อยู่ด้านหน้า ของลำคอทั้งซ้าย (กลีบซ้าย) และขวา (กลีบขวา) โดยอยู่บริเวณใต้ลูกกระเดือก และมีเนื้อเยื่อไทรอยด์เชื่อมระหว่างต่อมกลีบซ้ายและกลีบขวา ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ในการ ผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด และรวมถึงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆด้วย ถ้าหาก ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ ร่างกายจะเกิดความผิดปกติขึ้น เช่น คอพอก คอพอกเป็นพิษ (โรคของต่อมไทรอยด์) และโรคมะเร็งต่อม ไทรอยด์thyriod_1

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ คือโรคมะเร็งที่เกิดกับต่อมไทรอยด์ โดยเกิดได้กับต่อมไทรอยด์ทั้งกลีบซ้าย และกลีบขวา รวมทั้งในเนื้อ เยื่อที่เชื่อมต่อมทั้งสองข้างด้วย มะเร็งต่อมไทรอยด์สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ

  1. มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดที่เซลล์มะเร็งจับกินแร่รังสีไอโอดีน/น้ำแร่รังสีไอโอดีน (Differentiated carcinoma) ซึ่งเป็นกลุ่มมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่พบได้บ่อยที่สุด ประมาณ 90-95%ของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ทั้งหมด ซึ่งยังแบ่งย่อย เป็นอีก 2 ชนิดคือ ชนิดพาพิลลารี (Papillary cell carcinoma) และชนิด ฟอลลิคูลา (Follicular Carcinoma)
  2. มะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดที่เซลล์มะเร็งไม่จับกินแร่รังสีไอโอดีน ซึ่งพบได้น้อยมากประมาณ 5% ของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ทั้งหมด โดยมีหลายชนิดย่อย เช่น ชนิด เมดัลลารี (Medullary cell carcinoma) ชนิด อะนาพลาสติค (Anaplastic carcinoma) และชนิดอื่นๆนอกจาก 2 ชนิดที่กล่าวแล้ว

จะกล่าวถึงเฉพาะ “โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดที่จับกินแร่รังสีไอโอดีน” เท่านั้น เพราะพบได้สูงที่สุดเกือบทั้งหมดของโรค มะเร็งต่อมไทรอยด์ ซึ่งโรคมะเร็งชนิดนี้ มีอัตราการหายจากโรคที่ดีกว่ามะเร็งชนิดอื่นๆ   จะเรียกโรคมะเร็งชนิดนี้ว่า “มะเร็งต่อมไทรอยด์”

สำหรับมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดอื่นๆนั้นจะมีการดูแลรักษาที่แตกต่างกันในแต่ละชนิด ดังนั้นหากเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดอื่นๆที่ไม่ใช่ในกลุ่มที่จะกล่าวถึงในบทนี้ ซึ่งเป็น มะเร็งที่พบได้เพียงประปราย ให้ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาต่อไป

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นโรคที่พบได้ในทุกช่วงอายุ มี รายงานพบได้ตั้ง แต่อายุ 10 ปี จนถึงอายุ 80 ปี และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีรายงานว่าในประชากร 100,000 คน พบมะเร็งต่อมไทรอยด์ในเพศหญิง ประมาณ 6 คน และพบในเพศชายประมาณ 2 คน

สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคมะเร็งต่อม ไทรอยด์ แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ปัจจัยใหญ่ๆ คือ

  1. กรรมพันธุ์ มีรายงานว่าโรคทางกรรมพันธุ์บางชนิดสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
  2. สิ่งแวดล้อม
  • รังสีจากสารกัมมันตรังสีที่เซลล์ต่อมไทรอยด์ได้รับในปริมาณที่ไม่ถึงกับทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นกับหน่วยพันธุกรรมของเซลล์ เช่น จากอุบัติเหตุโรง งานพลังงานปรมาณู และ/หรือจากระเบิดปรมาณู เมื่อเวลาผ่านไป 10-20 ปี (มีรายงานพบได้ตั้งแต่ 3-5 ปี) ความเสียหายบางอย่างของเซลล์ต่อมไทรอยด์ อาจขยายตัว ขึ้นทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้
  • ต่อมไทรอยด์ได้รับรังสีไอออนไนซ์ (Ionizing radiation, รังสีที่ใช้ในการตรวจและรักษาโรค) ปริมาณสูง เช่น การได้รับการฉายรังสีรักษาบริเวณศีรษะและลำคอในวัยเด็ก เพื่อรักษา ต่อมธัยมัสโต (ต่อมไทมัส/ thymus gland เป็นต่อมมีหน้าที่เกี่ยวกับภูมิคุ้ม กันต้าน ทานโรคของร่างกาย อยู่ในตอนบนของช่องอก ซึ่งพบในเด็ก โดยต่อมจะยุบหายไปในผู้ใหญ่)

3.  ระดับของเกลือแร่ไอโอดีนในอาหาร ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของฮอร์ โมนไทรอยด์ โดยบางการศึกษาพบว่า ในถิ่นที่มีภาวะขาดไอโอดีน จะพบอุบัติ การณ์ของโรคมะเร็งต่อม ไทรอยด์ชนิด Follicular เพิ่มขึ้น และในถิ่นที่มีการเสริมเกลือแร่ไอโอดีนในอาหาร และ/หรือน้ำดื่ม จะพบอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิด Papillary เพิ่มขึ้น

อาการโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

1. อาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์นั้น ไม่มีอาการเฉพาะ แต่มักมีอาการคล้ายโรคปุ่มเนื้อของต่อมไทรอยด์ (โรคของต่อมไทรอยด์) หรือคล้ายโรคคอพอก คือ มีต่อมไทรอยด์โต หรือมีก้อนที่คอ (ที่ ต่อมไทรอยด์) คลำได้ อาจเป็นก้อนเดียว หรือหลายก้อนก็ได้ โดยมักจะไม่มีอาการเจ็บ หรือปวด

2.  มีเสียงแหบลงเนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็งโตจนกดเบียดทับ หรือลุก ลามเส้นประสาทกล่องเสียงที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์

3. มีอาการหายใจลำบากและ/หรือกลืนอาหาร ลำบากเนื่องจากก้อนมะเร็งโตจนกดเบียดทับ และ/หรือลุกลามเข้าหลอดลม และ/หรือหลอดอาหาร ซึ่งทั้งสองเป็นอวัยวะที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์เช่นกัน

4. อาจมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต คลำได้หากเซลล์มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำ เหลือง

นอกจากนั้น หากโรคมะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ก็อาจมี อาการตามอวัยวะนั้นๆที่โรคแพร่กระจายไปได้ เช่น มะเร็งกระจายไปกระดูก อาจมีอาการปวดตามตำแหน่งที่โรคแพร่กระจายไป

การวินิจฉัย

แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ได้จาก

  1. อาการ และการตรวจร่างกาย ซึ่งมักพบก้อนเนื้อที่ต่อมไทรอยด์
  2. การเจาะ/ดูดเซลล์ จากก้อนเนื้อเพื่อการตรวจทางเซลล์วิทยา และ/หรือตัดชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อให้ทราบ การวินิจฉัยโรคที่แน่ นอน และยังทำให้แพทย์ทราบได้ว่า เป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดใด
  3. ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ และดูค่าสารมะเร็ง (Tumor marker) ของต่อมไทรอยด์ เพราะมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดนี้ สร้างสารมะเร็งที่ใช้ในการตรวจติดตามผลการรักษาได้
  4. ตรวจอัลตราซาวน์ภาพต่อมไทรอยด์ และต่อมน้ำเหลืองลำคอ เพื่อดูลักษณะของต่อมไทรอยด์ และดูการลุกลามของโรคไปยังต่อมน้ำเหลือง และอาจช่วยในการเจาะดูดเซลล์ หรือ ตัด ชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจดังกล่าวได้แม่นยำขึ้น
  5. การตรวจภาพต่อมไทรอยด์ทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (รังสีที่ใช้ในการ ตรวจและรักษาโรค)) ที่เรียกว่า ไทรอยด์สะแกน (Thyroid scan) ซึ่งอาจตรวจในผู้ป่วยบางราย ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
  6. การตรวจสะแกนทั้งตัว (Whole body scan) เป็นการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อดูว่ามีต่อมไทรอยด์เหลืออยู่มากน้อยเพียงใดหลัง จากรักษาผ่าตัดต่อม ไทรอยด์ไปแล้ว และเพื่อดูว่ามีโรคมะเร็งแพร่กระ จายไปยังอวัยวะอื่นๆหรือไม่
  7. การตรวจเลือดซีบีซี (CBC) เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไปของผู้ป่วยก่อนการ รักษา
  8. การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ  เพื่อดูการทำงานของไต   เพื่อดูการทำงานของตับ   เพื่อดูระดับเกลือแร่ เช่น แคลเซียม ซึ่งอาจมีระดับลดลง เนื่องจากผลข้างเคียงจากการผ่าตัดเอาต่อมพาราไทรอยด์ (ต่อมควบคุมสมดุลของแคลเซียมในร่างกาย) ซึ่งเป็นต่อมไร้ ท่อขนาดเล็กที่อยู่ติดและใต้ต่อต่อมไทรอยด์ ออกไปด้วยในขณะผ่าตัดต่อมไทรอยด์ในรักษาโรคมะเร็ง
  9. เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติของ ช่องอก หัวใจ และปอด รวมทั้งการแพร่กระจายของโรคสู่ปอด
  10. การตรวจปัสสาวะ เพื่อประเมินสภาพร่างกายทั่วๆไปของผู้ป่วยก่อนการรักษา

 โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มีกี่ระยะ

การจัดระยะโรคของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์นั้น ต่างจากการจัดระยะของโรค มะเร็งอื่นๆ โดยมีการนำอายุของผู้ป่วยมาจัดเป็นระยะของโรค เพราะความรุนแรงของโรคขึ้นกับอายุผู้ป่วยด้วย ซึ่งระยะของโรคมะเร็งของต่อมไทรอยด์เป็นดังนี้

ในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 45 ปี  แบ่งโรคเป็น 2 ระยะ คือ

  • ระยะที่ 1 โรคเกิดในต่อมไทรอยด์เพียงกลีบเดียว หรือ ทั้ง 2 กลีบ และ/หรือมีการลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอ
  • ระยะที่ 2 โรคแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด (โลหิต) ไปยังอวัยวะอื่นๆ ซึ่งเมื่อแพร่กระจาย ที่พบได้บ่อยคือแพร่กระจายสู่ ปอด กระดูก หนังศีรษะ สมองและตับ

ในผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป  แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ

  • ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดโตไม่เกิน 2 เซนติเมตร
  • ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดโตมากกว่า 2 แต่ไม่เกิน 4 เซนติเมตร
  • ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดโตมากกว่า 4 เซนติเมตร และ/หรือมีการลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์
  • ระยะที่ 4 ก้อนมะเร็งมีการลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ และ/หรืออวัยวะข้างเคียง และ/หรือ มีโรคลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอบริเวณอื่นๆที่ไม่ติดกับต่อมไทรอยด์ และ/หรือมีโรคแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด (โลหิต) ไปยังอวัยวะอื่นๆ ซึ่งเมื่อแพร่กระจาย ที่พบได้บ่อย คือเข้าสู่ ปอด กระดูก หนังศีรษะ สมอง และตับ

*อาการที่แสดงไว้เพื่อเป็นคำแนะนำในเบื้องต้น เท่านั้น

การรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

ในการดูแลรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์นั้น มีการรักษาหลักๆร่วมกันอยู่ 3 วิธี คือ

1. การผ่าตัด

เป็นการรักษาที่ต้องทำเป็นอันดับแรก ซึ่งการผ่าตัดที่นิยมทำมากที่สุดคือ ผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออกทั้ง 2 ข้าง เพราะมีข้อดีมากกว่าผ่าตัดเอาต่อม ไทรอยด์ออกเพียงบางส่วน คือ

จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการกินแร่รังสี (น้ำแร่รังสีไอโอดีน) ในการรักษาต่อ เนื่องหลังผ่าตัดไปแล้ว เพื่อให้ รังสีช่วยทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลือในบริเวณต่อมไทรอยด์จากที่ไม่สามารถผ่าตัดออกหมดได้ และให้รังสีทำลายเซลล์ มะเร็งที่อาจแพร่กระจายอยู่ในอวัยวะต่างๆทั่วร่างกายเพื่อ ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรค และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจเลือดดูสารมะเร็ง ที่แพทย์ใช้เฝ้าระวังการกลับ เป็นซ้ำของโรค

การผ่าตัดวิธีนี้ ยังช่วยเพิ่มอัตราการหายจากโรคให้สูงขึ้นด้วย ดังนั้นในผู้ป่วยบางรายที่ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกเพียงบางส่วนในครั้งแรกเนื่องจากวินิจ ฉัยว่า ก้อนเนื้อเป็น เพียงเนื้องอก แต่เมื่อทราบผลชิ้นเนื้อหลังผ่าตัดจากการตรวจทางพยาธิ ว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ จึงอาจต้องผ่าตัดอีก ครั้งเพื่อเอาต่อมไท รอยด์ออกทั้ง 2 กลีบ

2. การกินแร่รังสีไอโอดีน

ซึ่งแร่รังสีไอโอดีนนี้ เป็นสารกัมมันตรังสีที่ได้ รับการเตรียมให้อยู่ในรูปของแคปซูล หรือในรูปของสารน้ำ เพื่อให้ผู้ป่วยกินได้ง่าย โดยแร่รังสีไอโอดีนเหล่านั้น จะไปรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่อาจหลงเหลืออยู่หลังจากผ่าตัด ทั้งที่บริเวณลำคอ และเนื้อเยื่อใกล้เคียง นอกจากนั้น ยังสามารถช่วยรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ที่แพร่กระจายไปยัง อวัยวะอื่นๆได้ด้วย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ปอด กระดูก ซึ่งในการรักษาด้วยการกินแร่รังสีฯนั้น อาจกินเพียงครั้งเดียว หรือมากกว่า 1 ครั้งตามความรุนแรงของโรค และดุลพินิจของ แพทย์

3. การให้ยาฮอร์โมนไทรอยด์กินอย่างต่อเนื่อง

ตลอดชีวิต เพื่อให้ฮอร์โมนชดเชยกับร่างกาย หลังจากผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออกทั้ง 2 กลีบแล้ว และยังช่วยควบคุมโรคมะเร็งต่อม ไทรอยด์ไม่ให้กลับเป็นซ้ำได้อีกด้วย ดังนั้นผู้ป่วยควรต้องรับประทานยาไทรอยด์ฮอร์โมนอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ที่ทำการรักษา ไม่ควรขาดยา

อนึ่ง ในผู้ป่วยบางราย อาจต้องได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีรักษา ร่วมด้วย เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคแพร่กระจายไป กระดูก สมอง หรือผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคแพร่กระจายไป ยังอวัยวะอื่นๆที่ไม่สามารถให้การรักษาด้วยการกินแร่รังสีไอโอดีน หรือฉายรังสีได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และดุลพินิจของแพทย์

การรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มีผลข้างเคียงอย่างไร

  1. ผลข้างเคียง (ผลแทรกซ้อน) จากการรักษาในแต่ ละวิธีรักษานั้นจะแตกต่างกันตามแต่ละวิธีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษา และผลข้างเคียงอาจพบได้มากขึ้นหากผู้ ป่วยได้รับการรักษาด้วยหลายๆวิธีร่วมกัน
  1. ผลข้างเคียงจากการผ่าตัด เช่น แผลผ่าตัดเลือดออก การอักเสบติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด เสียงแหบหากเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล่องเสียงซึ่งอยู่ในบริเวณที่ทำการผ่าตัดได้รับบาดเจ็บ ขณะผ่าตัด มีภาวะแคลเซียมในร่างกายลดลงได้หากผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดต่อมพาราไทรอยด์ออกไปด้วยดังกล่าวแล้ว และมีภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์เพราะผ่าตัดต่อมไท รอยด์ออก ไปหมดแล้ว
  2. ผลข้างเคียงจากการกินแร่รังสีไอโอดีน/น้ำแร่รังสีไอโอดีน หรือการกินแร่รังสีไอโอดีนชนิดเป็นแคปซูล ในระยะ เฉียบพลัน (1-7 วันหลังได้รับแร่รัง สีฯ) เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ลำคอบวม ต่อมน้ำลายอักเสบ นอก จากนั้นอาจมีผลข้างเคียงในระยะยาวได้ด้วยเมื่อได้รับแร่รังสีฯปริมาณสูงหลายๆครั้ง เช่น มีการกดการทำงานของไขกระดูกทำให้มีเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดต่ำลง และ/หรือมีพังผืดที่ปอด
  3. ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง การทำงานของตับผิดปกติ มีเกล็ดเลือด และเม็ดเลือดขาวต่ำ (ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากเคมีบำบัดและ/หรือรังสี รักษา)
  1. ผลข้างเคียงจากการให้รังสีรักษา คือ ผลข้างเคียงจากการฉายรังสี ในบริเวณต่างๆที่ผู้ป่วยได้รับการฉายรังสี เช่น เมื่อฉายรังสีบริเวณต่อมไท รอยด์ ผลข้างเคียงอาจเกิดกับผิวหนัง และกับช่องคอส่วนได้รับรังสี (การดูแลผิวหนัง และผลข้างเคียงต่อผิวหนังบริเวณฉายรังสี รักษา และ การดูแลตนเองเมื่อ ฉายรังสีรักษาบริเวณศีรษะและลำคอ)

 

ความรุนแรงโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์


 

 

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มักมีความรุนแรงของโรคต่ำ เมื่อได้รับการรักษาแล้วมีโอกาสหายขาด หรืออยู่ได้ถึง 10-20 ปี สูงถึงประมาณ 80–90% แต่ หากพบโรคนี้ในผู้ชาย และในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป มักมีความรุนแรงของโรคสูงกว่าผู้ป่วยกลุ่มอายุน้อยกว่า 45 ปี

คำแนะนำ วิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์



ปัจจุบันยังไม่มีวิธีในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อม ไทรอยด์ให้พบตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ดังนั้นจึงควรสังเกต และคลำลำคอของตนเองว่า มี ก้อนเนื้อผิดปกติ หรือคลำพบต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอหรือไม่ หากพบความผิดปกติเหล่านี้ ควร รีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาแต่เนิ่นๆ

 

 

 

อาการโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

1. อาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์นั้น ไม่มีอาการเฉพาะ แต่มักมีอาการคล้ายโรคปุ่มเนื้อของต่อมไทรอยด์ (โรคของต่อมไทรอยด์) หรือคล้ายโรคคอพอก คือ มีต่อมไทรอยด์โต หรือมีก้อนที่คอ (ที่ ต่อมไทรอยด์) คลำได้ อาจเป็นก้อนเดียว หรือหลายก้อนก็ได้ โดยมักจะไม่มีอาการเจ็บ หรือปวด

2.  มีเสียงแหบลงเนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็งโตจนกดเบียดทับ หรือลุก ลามเส้นประสาทกล่องเสียงที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์

3. มีอาการหายใจลำบากและ/หรือกลืนอาหาร ลำบากเนื่องจากก้อนมะเร็งโตจนกดเบียดทับ และ/หรือลุกลามเข้าหลอดลม และ/หรือหลอดอาหาร ซึ่งทั้งสองเป็นอวัยวะที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์เช่นกัน

4. อาจมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต คลำได้หากเซลล์มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำ เหลือง

นอกจากนั้น หากโรคมะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ก็อาจมี อาการตามอวัยวะนั้นๆที่โรคแพร่กระจายไปได้ เช่น มะเร็งกระจายไปกระดูก อาจมีอาการปวดตามตำแหน่งที่โรคแพร่กระจายไป

การป้องกันโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งต่อมไท รอยด์ แต่มีข้อแนะนำ เพราะอาจลดโอกาสเกิดโรคนี้ได้บ้าง คือ

1. การหลีกเลี่ยง สาเหตุต่างๆที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมดังกล่าวแล้ว ที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น หลีก เลี่ยงการสัมผัสสารกัมมันตรังสี

2.ควรรับประทานอาหารที่มีไอโอดีน (อาหารทะเล เกลือ แกง น้ำปลา อาหาร/ขนมขบเคี้ยว รสเค็ม) อย่างเหมาะสม ไม่กินมาก หรือน้อยจนเกินไป

3.  หากมีก้อนที่บริเวณด้านหน้าลำคอ  ที่เคลื่อนที่ขึ้นลงตามการกลืนควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและให้การรักษา