IBS_2

โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome : IBS) เป็นโรคของลำไส้ที่ทำงาน
ผิดปกติ แต่พอตรวจดูกลับไม่พบความผิดปกติใดๆ ที่ลำไส้ ไม่ว่าจะทำการส่องกล้องตรวจลำไส้หรือตรวจเลือดผิดปกติ เป็นต้น

โรคนี้เป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่งในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยโดยทั่วไปที่เป็นโรคนี้
มักจะมีประวัติเป็นมานาน บางรายอาจมีอาการเป็นปีและมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ
เป็นโรคที่สร้างความรำคาญ และความทุกข์ทรมานให้แก่ผู้ป่วย

ผู้ป่วยจะวิตกกังวลว่าทำไมโรคไม่หายแม้ได้ยารักษา ทำให้มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
รบกวนการดำเนินชีวิตและอาจทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่ และพบว่าโรคลำไส้แปรปรวน
มักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในอัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชายประมาณ 2 : 1

 

สาเหตุ

1.การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ เป็นผลมาจากการหลั่งสารหรือฮอร์โมนที่ผิดปกติบางอย่างในผนังลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องผูก
หรือท้องเสียได้ สาเหตุที่แน่นอนของโรคลำไส้แปรปรวน แต่จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ มี 3 อย่างที่สำคัญได้แก่

2.ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นมากผิดปกติ ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการได้แก่ อาหารเผ็ด กาแฟ แอลกอฮอล์ทุกชนิด
ช็อกโกแลต เป็นต้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวล เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นก็ทำให้ผนังลำไส้
บีบตัวผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องผูก หรือท้องเสียได้

3.มีความผิดปกติในการควบคุมการทำงานของลำไส้ ระหว่างประสาทรับความรู้สึกที่ผนังลำไส้ ระบบกล้ามเนื้อของลำไส้และสมอง
โดยเกิดจากความผิดปกติของสารที่ควบคุมการทำงานของลำไส้ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด

IBS1

อาการ ผู้ป่วยที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน มักจะมีอาการปวดท้อง อาจปวดตรงกลางหรือปวดบริเวณท้องน้อย โดยทั่วไปจะปวดท้องน้อยด้านซ้ายมากกว่าด้านขวา ลักษณะอาการปวดมักจะปวดแบบเกร็ง มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด อาการจะไม่สัมพันธ์กับอาหาร นอกจากนี้จะมีอาการท้องโตขึ้นเหมือนมีลมในท้อง อาจมีอาการเรอหรือผายลมมากขึ้น และมีอาการถ่ายไม่ปกติ บางรายมีอาการท้องผูก บางรายท้องเสีย หรือในบางรายอาจมีอาการท้องผูกสลับท้องเสียก็ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีความรู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด หรือมีอาการปวดเบ่งแต่เมื่อถ่ายอุจจาระแล้วอาการดีขึ้น มักมีอุจจาระเป็นมูกร่วมด้วยได้ อาการต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็น ๆ หาย ๆ มีอาการมากน้อยสลับกันได้ จะมีอาการเกิน 3 เดือน ในระยะเวลา 1 ปี

*อาการที่แสดงไว้เพื่อเป็นคำแนะนำในเบื้องต้น เท่านั้น

การรักษา

การรักษาสภาวะลำไส้แปรปรวน ไม่ควรกังวลแต่จะต้องกล้าเผชิญพร้อมรับมือ และจัดการกับโรคที่กำลังสร้างความรำคาญให้ชีวิตอยู่นั้นให้ได้ ด้วยการรักษาที่ถูกต้อง และหมั่นดูแลร่างกาย จิตใจให้ผ่อนคลายอยู่เสมอ โดยวิธีการที่จะควบคุมกับโรคนี้มีดังนี้

วิธีแรกคือ การกินยาตามคำแนะนำของแพทย์ โดยยาที่ใช้รักษาจะเป็นยาที่รักษาตามอาการ เพราะยังไม่มียาชนิดใดที่รักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ เช่น กลุ่มคนที่มีอาการปวดท้อง อาจจะกินยาที่ช่วยคลายการบีบตัวของลำไส้ ลดอาการปวดเกร็ง กลุ่มคนที่มีอาการท้องอืด มีลมในท้อง อาจจะกินยาลดแก๊สในกระเพาะ หรือยาขับลม ส่วนกลุ่มคนที่มีอาการท้องผูก อาจจะกินยาที่ช่วยเพิ่มไฟเบอร์ หรือยาระบายอ่อนๆ ซึ่งการรักษาจะต้องรักษาตามอาการเพราะยังไม่มียาชนิดใดที่สามารถรักษาครอบคลุมอาการทุกอย่างได้

นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว วิธีที่สำคัญอีกอย่างที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคคือ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เพราะโรคนี้มีโอกาสเป็นๆ หายๆ และส่วนใหญ่จะมีอาการที่เป็นมานานแล้ว ไม่ได้เป็นแค่ระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้นคนที่มีอาการส่วนใหญ่มักจะพฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกต้องคำแนะนำ

ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้คือ

  • ควรรับประทานอาหารช้า ๆ และไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน เนื่องจากไขมันจะเป็นตัวกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
  • หากผู้ป่วยมีอาการท้องผูกร่วมด้วย ควรเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารให้มากขึ้น
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอและฝึกนิสัยการขับถ่ายให้เป็นเวลา
  • ควรหลีกเลี่ยงการดื่มนมในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนชนิดท้องเสีย
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้อาการของโรคเป็นมากขึ้น อาทิ กาแฟ อาหารหวานจัด ผลไม้รสเปรี้ยวบางชนิด อาหารรสเผ็ด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และน้ำอัดลม เป็นต้น
  • หากผู้ป่วยมีภาวะเครียดร่วมด้วย ควรหาทางผ่อนคลาย หาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

สัญญาณอาการป่วยโรคลำไส้แปรปรวน

การสังเกตความผิดปกติในเรื่องระบบขับถ่ายของตัวเราเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้รู้ว่าระบบภายในร่างกายมีความผิดปกติหรือเปล่า อย่าง โรคลำไส้แปรปรวน จะมีสัญญาณเตือนออกมาในรูปแบบของระบบการขับถ่ายที่ผิดปกติ และมักมีอาการเด่นชัด ดังนี้

  • มีอาการปวดท้อง โดยอาจจะปวดบริเวณกลางท้อง หรือปวดบริเวณท้องน้อย แต่โดยทั่วไปจะปวดท้องน้อยด้านซ้าย ลักษณะอาการปวดมักจะปวดแบบเกร็ง
  • มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด
  • มีอาการท้องโตขึ้น เหมือนมีลมอยู่ในท้อง อาจมีอาการเรอหรือผายลมบ่อย
  • มีอาการถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย หรืออาจมีท้องผูกสลับท้องเสีย บางรายอาจมีความรู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด
  • การขับถ่ายอุจจาระมีลักษณะเหลว หรือเป็นมูกร่วมด้วย แต่จะไม่มีเลือด อาการมักจะเป็นๆ หายๆ มากน้อยสลับกันและมีอาการเกิน 3 เดือน