หน้าแรก > อายุรกรรม > Assets > Frontend > Js > บริการทางการแพทย์ > อายุรกรรม > โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
วันอังคารที่ 27 กันยายน 2554 เวลา 17:22 น.
คือภาวะที่ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดหัวใจ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงและตายในที่สุด สาเหตุ เกิดจากหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวหรือมีไขมันไปเกาะที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและหากหลอดเลือดแดงตีบแคบลงจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค 1. การสูบบุหรี่หรือแม้แต่การได้รับควันบุหรี่โดยอ้อม สารนิโคตินในบุหรี่จะเข้าสู่กระแสเลือด นอกจากนี้สารคาร์บอนมอนนอกไซด์ยังเร่งให้เกิดการระคายเคืองต่อผนังหลอดเลือดจนมีการตีบตันเกิดขึ้นได้ ผู้ที่สูบบุหรี่หรือเคยสูบมาก่อน รวมทั้งผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่ประจำมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจขาดเลือดมากเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 2. โรคอ้วน คนที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติมักจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและมีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงตามไปด้วย โอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจจึงเกิดมากกว่าคนปกติ ความอ้วนจะเร่งให้ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งเกิด เร็วขึ้น และมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ โรคเบาหวาน เบาหวานเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด 2-8 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน 3. ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงช่วยลดการเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจชนิดต่างๆได้ 4. ไขมันในเลือดผิดปกติ ระดับไขมันตัวไม่ดีหรือแอลดีแอลมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 5. ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ป่วยมักจะไม่ทราบว่าเป็น ความดันโลหิตสูงมีผลเสียโดยตรงต่อหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ 3 เท่า 6. โรคเบาหวาน 7. ความเครียด 8. ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือวัยหลังหมดประจำเดือน 9. ผู้มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
|
การวินิจฉัย 1.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ : เป็นการบันทึกระบบการเหนี่ยวนำไฟฟ้าในห้องหัวใจ และจะสามารถบอกถึงความผิดปกติของอัตราการเต้นและจังหวะของหัวใจได้รวมทั้งบอกให้ทราบได้ว่าส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ 2.การเจาะเลือดเพื่อดูเอ็นไซม์ของหัวใจ เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย จะทำให้เอ็นไซม์เกิดการรั่วเข้าไปในกระแสเลือด การเพิ่มขึ้นของเอ็นไซม์บ่งบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง 3.การตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจโดยการออกกำลังกายบนสายพาน การออกกำลังบนสายพานจะทำให้หัวใจทำงานมากขึ้นซึ่งจะมีผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้น ความผิดปกติจะปรากฏให้เห็นทางคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งจะสามารถแปลผลของความผิดปกติของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ 4.การตรวจคลื่นสะท้อนความถี่สูงของหัวใจ การตรวจชนิดนี้ใช้หลักการตรวจเหมือนอัลตราซาวด์ จะทำให้เห็นการบีบตัวของหัวใจบริเวณที่ขาดเลือดไปเลี้ยงได้ 5.การตรวจภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดโดยใช้สารกัมมันตภาพรังสี การตรวจชนิดนี้โดยการฉีดสารกัมมันตภาพรังสีเพื่อดูกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งจะทำให้เห็นบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดไปเลี้ยงได้ 6.การฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ การตรวจชนิดนี้จะให้ความแม่นยำสูงมากในการดูความรุนแรงของโรค แต่จะต้องทำในห้องปฏิบัติการตรวจสวนหัวใจ โดยการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่และมีการเอกซเรย์เป็นระยะๆ ซึ่งจะทำให้เห็นตำแหน่งที่ตีบแคบของหลอดเลือดได้ กรณีที่ผู้ป่วยบางรายไม่ต้องการฉีดสีเพื่อดูหลอดเลือดที่ตีบจะใช้การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดหัวใจแทนแต่ให้ความแม่นยำน้อยกว่าการฉีดสี การรักษาที่ผู้ป่วยจะได้รับ 1. การให้ออกซิเจน 2 การให้ยาแก้ปวด 3. การใช้ยาขยายหลอดเลือด 4. การใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัว หรือ ยาละลายลิ่ม 5. การรักษาด้วยการผ่าตัดทำการเบี่ยงให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจ เรียกว่าทำ BYPASS GRAFT 6. การรักษาด้วยวิธีพิเศษ เช่น การถ่างขยายเส้นเลือดด้วยบอลลูน การกรอเส้นเลือดด้วยหัวกรอ 7. การรักษาอย่างอื่น ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆไป โดยทั่วๆไปผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีแพทย์เชี่ยวชาญทางโรคหัวใจโดยเฉพาะผู้ป่วยอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ ภาวะหัวใจล้มเหลว เกดขึ้นได้ ผู้ป่วยควรจะได้รับการตรวจสัญญาณชีพจรบ่อยๆ และควรจะได้บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจอยู่ตลอดเวลา |
สัญญาณเตือนโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 1. ใจสั่น 2. เจ็บหน้าอก เป็นตรงกลางหน้าอก มักจะเจ็บอยู่นานราว 5 – 10 นาที มักจะคลายหายโดยการพัก 3. ลักษณะการเจ็บหน้าอก มักจุก ๆ แน่น ๆ อึดอัด บางทีร้าวไปถึงคอหอย ไหล่ซ้าย ข้อศอก หรือ ท้องแขนซ้าย หรือกราม หรือคอด้านซ้าย 4. หายใจอึดอัดเหมือนมีอะไรมาทับทรวงอก 4. ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ 5. มีอาการปวดภายในทรวงอกและหัวใจ 6. มีอาการหายใจลำบาก คำแนะนำในการปฏิบัติตัว 1. หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมัน – กะทิ รวมทั้งไข่แดง ทำให้มีการสะสมไขมันในหลอดเลือด ก่อให้เกิดแผ่นคราบไขมันตามมา 2. ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ผัก ปลา ผลไม้ และอาหารที่มีกากมาก ๆ เช่น รำข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ฯลฯ 3. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ 20 นาที แล้วค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลา และเพิ่มความถี่ในการออกกำลังกาย 4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะในบุหรี่มีสารนิโคติน และสารอื่น ๆ ที่จะทำอันตรายต่อผนังบุด้านในหลอดเลือด การสูบบุหรี่ยังทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว เป็นการลดปริมาณเลือดที่จะไปเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจ 5. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดกับงาน ควรทำสมาชิก หรือฟังเพลงเบา ๆ 6. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน โดยใช้วิธีออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่ถูกต้อง เช่น งดขนมหวาน ผลไม้รสหวานจัด เพราะหัวใจของคนอ้วนต้องทำงานมากกว่าปกติ 7. ควบคุมความดันโลหิต และเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 8. ตรวจเช็คสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่ถ้ามีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็น ๆ หาย ๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
|