dr.parit

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) ร่วมกับ บริษัท ไอดีไซน์พับลิชชิ่ง จำกัดและศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ(TCDC) ประกาศผลรางวัลออกแบบเชิงนวัตกรรมประจำปี 2555 ครั้งที่ 5 เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการสร้างสรรค์และต่อยอดผลงานการออกแบบสู่ธุรกิจ

นายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สนช. กล่าวว่า สนช. พยายามส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัวในการสร้างนวัตกรรมการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ พร้อมกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในธุรกิจใหม่อย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยปีนี้ได้จัดขึ้นมาเป็นปีที่ 5 มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวด 92 ผลงาน ซึ่งแต่ละผลงานมีความโดดเด่น แต่ยังขาดโอกาสและการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงต้องมีการผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโตต่อไปได้อย่างเข็มแข็ง

สำหรับรางวัลชนะเลิศการออกแบบเชิงนวัตกรรม ปี 2555 ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

ด้านการออกแบบอาหาร  กับผลงานลูกเดือยกรอบ ของนายสุชาย วัชอภัยกุล วิสาหกิจชุมชนบ้านธัญญาทิพย์

ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ กับ ผลงาน หุ่นยนต์ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวแขนของนายแพทย์ ภาริส วงศ์แพทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีเอ็มจีไอ จำกัด

ด้านการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม กับผลงานรองชนะเลิศ 2 รางวัล คือ ผลิตภัณฑ์ไม้พื้นจากเศษไม้เหลือใช้ และผลงานกระเบื้องเคลือบผลึกจากเศษกระจกรีไซเคิล

?SensibleTAB? โต๊ะหุ่นยนต์ ฟื้นฟูการเคลื่อนไหวแขน

เจ้าของผลงาน          :       ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ ภาริส วงศ์แพทย์ (หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีเอ็มจีไอ จำกัด)

ความเป็นนวัตกรรม     :        ในระดับโลก

   การฟื้นฟูความสามารถในด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย หลังการได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือหลังการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ

ก่อให้เกิดความพิการแก่ผู้ป่วยจำนวนมาก ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าการฟื้นฟูโดยการฝึกการเคลื่อนไหวให้ตรงลักษณะการเคลื่อนไหวที่เหมือนการใช้งานในชีวิตจริง (high repetition , task specific training therapy)  เป็นทางที่ได้ผลดีที่สุด แต่ทว่าการฝึกโดยใช้คนช่วยฝึกมีข้อจำกัด คือไม่สามารถทำการช่วยฝึกแบบซ้ำๆได้มากพอ และไม่สามารถป้อนกลับ ผลการเคลื่อนไหวได้เท่าที่ต้องการ จึงได้มีการผลิต เครื่องหุ่นยนต์ช่วยฝึกการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ออกมาสู่ตลาดโลก มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

dr.parit.3อย่างไรก็ตามแม้จะมีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่าเครื่องหุ่นยนต์บางแบบให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการฝึกหัดฟื้นฟูการเคลื่อนไหวโดยใช้คนช่วย แต่ทว่า เครื่องที่มีขายก็มัก มีราคาสูงกว่าสิบล้านบาทเมื่อมีการนำเข้ามาขายในประเทศไทย และยังไม่มีเครื่องใดที่สามารถทำการฝึกเพื่อฟื้นฟู การรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อต่างๆ ตลอดจน การฝึกการคลำวัตถุเสมือน ตามแนวทางการฟื้นฟูแบบ cognitive sensory motor training therapy ซึ่งเป็นวิธีการฟื้นฟูแบบใหม่ ที่ได้มีงานวิจัยยืนยันถึงประสิทธิภาพในการฟื้นฟู และ เร้าการทำงานเพิ่มขึ้นของสมองได้ที่ดีกว่าวิธีปกติ

ทีมงาน S.Medical Robotics อันประกอบด้วยแพทย์ วิศวกร และนักออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้ร่วมกันคิดค้นจนได้แนวทางการพัฒนาเครื่องให้สามารถมีฟังก์ชั่น ที่ต้องการได้หลายหลาก โดยมีความซับซ้อนและต้นทุนในการผลิต การจัดสร้างโครงสร้างและระบบควบคุมให้ต่ำเท่าที่จะเป็นไปได้ ในที่สุด ได้เลือกที่จะสร้างเครื่อง SensibleTAB ให้มีโครงสร้างหลักเป็นหุ่นบนระนาบโต๊ะ ให้สามารถรองรับการฝึกการเคลื่อนไหวแขนของผู้ป่วยได้ทั้งในแบบ passive, assistive  และ  resistive  ทำให้สามารถใช้งานกับผู้ป่วยได้เกือบทุกระดับความรุนแรง

ลักษณะเด่นประการหนึ่ง ของ SensibleTAB อยู่ที่อุปกรณ์ตรวจวัดแรงกระทำของมือผู้ป่วยที่มีความไวสูง และความสามารถที่จะจำลองสภาพแวดล้อมเสมือน (virtual environment) ต่างๆที่ต้องใช้ในการฝึกผู้ป่วยได้หลายชนิด อาทิเช่น การจำลองสภาพไร้แรงหน่วงและแรงเสียดทาน การจำลอง วัตถุเสมือนและอุปกรณ์แรงต้านเสมือนต่างๆ เช่น สปริง แดมปเปอร์ แรงเสียดทานคงที่ขนาดต่างๆ และอื่นๆ ทั้งนี้ ยังได้ออกแบบ ระบบควบคุมผ่านจอสัมผัส ทำให้ นักกายภาพบำบัด สามารถทำงานได้สะดวก ปลอดภัย และสามารถทำการวัดประเมิน การเคลื่อนไหวได้โดยละเอียด เช่น วัดระยะเอื้อมแขน วัดความเร็วในการเคลื่อนไหวแขน เป็นต้น

ซึ่งในระหว่างขั้นตอนการพัฒนาได้ทำการทดสอบกับคนปกติ และผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการค้นพบประเด็นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มั่นใจในความพร้อมของเครื่อง SensibleTAB ที่จะนำประโยชน์ในด้านการรักษาฟื้นฟู และลดความพิการของผู้ป่วยทางสมอง ตามหลักวิชาการทางประสาทสรีรวิทยาสมัยใหม่ ตลอดจนศักยภาพทางการค้า สามารถแข่งขันได้ในตลาดเครื่องมือหุ่นยนต์สำหรับการฟื้นฟูสภาพ ในระดับสากลได้เพราะ มีคุณสมบัติพิเศษที่นอกจากจะสามารถทำงานช่วยฝึกแบบเดียวกันกับเครื่องมือที่มีขายอยู่ทั่วไปในตลาดโลกได้แล้ว ยังมีความสามารถพิเศษเพิ่มเติม คือสามารถทำแบบการฝึกที่แปลกใหม่ได้อีกด้วย ถือได้ว่าเป็นนวตกรรมใหม่ของประเทศไทยที่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลกทีเดียว ท่านสามารถพบกับเครื่อง SensibleTAB ได้ที่โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ สอบถามรายละเอียดได้ที่โทรศัพท์ 02-361-1111 ต่อ 2446,2447 แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูค่ะ


dr.parit_2