หุ่นยนต์ ฟื้นฟูแขนและไหล่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ตัวแรกของประเทศไทย ผลการร่วมงานออกแบบ และจัดสร้างโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู วิศวกรหุ่นยนต์ และ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ชาวไทยsensibletab._team

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับในทางการแพทย์ ว่าการฝึกการเคลื่อนไหวต่างๆ โดยใช้หุ่นยนต์ช่วย เช่นการฝึกเดิน และการฝึกการเคลื่อนไหวแขน ของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก มีผลดีต่อการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย แต่เครื่องมือที่มีขายในปัจจุบันล้วนแล้วแต่ผลิตมาจากต่างประเทศ มีราคาแพง และมีรูปแบบการฝึกฝนที่จำกัดอยู่บ้าง


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภาริส วงศ์แพทย์ อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลรามาธิบดี และ ดร.ปราการเกียรติ ยังคง แห่งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO )
กับทีมงานจึงได้ร่วมกันพัฒนาเครื่อง หุ่นยนต์ฟื้นฟูการเคลื่อนไหวแขน สำหรับผู้ป่วยขึ้นมาเรียกว่าเครื่อง SensibleTAB โดยใช้เวลาเกือบสองปี และเงินลงทุนนับล้าน ขณะนี้เครื่องต้นแบบกำลังรับการปรับแต่งขั้นสุดท้าย หลังจากได้ออก เผยแพร่เป็นครั้งแรกไปแล้วในงานประชุมวิชาการประจำปีของราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เมื่อปลายปีที่แล้วนี่เอง


 ความสามารถเฉพาะตัว หนึ่งเดียวในโลก :

  • ฝึกการรับรู้  joint position sensation ความรู้สึกของแขนข้างที่อ่อนแรง
  • ฝึกการใช้ real-time sensory guided modification of motor program (sensory-motor coupling tranining) ฝึกควบคุมการขยับแขนโดยใช้ความรู้สึกตลอดเวลา หมายถึงการฝึกคลำวัตถุเสมือน ที่จำลองเอาไว้อยู่ในเครื่อง
  • จำลองสภาวะไร้แรงเสียดทาน แม้ผู้ป่วยแรงแขนน้อยๆ (ประมาณว่าแม้ไม่ต้านแรงโน้มถ่วง ก็ยังออกแรงขยับแขน/ข้อ ของตัวเองไม่ได้สุดพิสัยการเคลื่อนไหว)เครื่องก็ยัง ช่วยออกแรง assist ให้ได้พิสัยการเคลื่อนไหว แบบ active assistive ที่กว้างขึ้น

ในขั้นตอนต่อไป จะได้มีการทำการวิจัย เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพในด้านการรักษาฟื้นฟู เพื่อสนับสนุนการส่งเครื่องออกขายทั่วโลก และกำลังประกาศ รับสมัคร ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรือบาดเจ็บทางสมอง (stroke / traumatic brain injury) ที่มีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก เอื้อมแขนขยับแขนไปมาไม่ได้เท่าข้างปรกติ และมีอาการมาแล้ว นานกว่า 6 เดือน เพื่อเข้ารับการทดลองฝึกการเคลื่อนไหวแขน ด้วยเครื่อง SensibleTAB หุ่นยนต์ฟื้นฟูการเคลื่อนไหวแขน ตัวแรกที่สร้างขึ้นมาในประเทศไทย โดยไม่เสียค่าใช้
จ่าย สนใจติดต่อผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ภาริส วงศ์แพทย์ โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ หรือที่เบอร์โทร 0-2677-7255 ทุกวัน เวลา 11.00 -20.00 น

การวิจัยจะทำที่โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ และสถาบันอื่นที่ร่วมงานวิจัย ในขณะนี้คาดว่าจะประกอบด้วย ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลรามาธิบดี ,กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ,โรงพยาบาลโพธาราม และอื่นๆ  คาดว่าจะเริ่มได้ ในอีกสองเดือนและผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนสมัครเอาไว้ก่อนได้

เครื่อง SensibleTAB : ผ่านการพิจารณา เพื่อการสนับสนุนโครงการนวัตกรรม จาก สำนักนวตกรรมแห่งชาติ (NIA หรือ สนช.) ในปี  2555 ด้านอุตสาหกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Industry Platform)

"อุตสาหกรรมชีวการแพทย์" เป็นการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์และซอฟแวร์ต่างๆ ที่ใช้กับผู้ป่วย ผู้พิการ และผู้สูงอายุ เพื่อช่วยแพทย์ในการตรวจวินิจฉัย รักษา และติดตามผล ผู้ป่วยและผู้พิการที่ขาดโอกาสทางสังคม รวมไปถึงผู้สูงอายุที่จะมีสัดส่วนสูงมากยิ่งขึ้นในอนาคต ให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข โดยอาศัยการเชื่อมโยงสหสาขา ระหว่างองค์ความรู้ของการรักษาทางการแพทย์ ร่วมกับการออกแบบทางวิศวกรรม เพื่อสร้างให้เกิดสารัตถประโยชน์ (Functional Advantage) ของเครื่องมือทางการแพทย์ และก่อให้เกิดแนวทางการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ทางการแพทย์ที่มี ประโยชน์และได้รบการรับรองมาตรฐาน ซึ่งจะก่อให้เกิดการลงทุนต่อเนื่องด้านสาธารณสุขและการรักษาพยาบาล รวมถึงสนับสนุนประเทศไทยให้สามารถก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ ในระดับภูมิภาคsensibletab._show

สนช. ได้กำหนดแผนการดำเนินงานในด้านการออกแบบเชิงการแพทย์ ภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมรายสาขาการออกแบบและแก้ไขปัญหา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือการบริการทางการแพทย์ใหม่ที่มีประโยชน์และได้รับการรับรองมาตรฐานตามที่ได้กำหนดซึ่งมีส่วนในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคคลากรและผู้ใช้บริการทางการแพทย์ ทั้งนี้ยังมีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนการประเทศไทยให้สามารถ ก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical hub) ทั้งนี้ยังก่อให้เกิดการลงทุนต่อเนื่องด้านสาธารณสุขและการรักษาพยาบาล หากราคาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ลดลงจะช่วยลดต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข (Economics of health)

ดังนั้นการพัฒนาอุตสาหกรรมการออกแบบเชิงการแพทย์จึงเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ที่ผู้ผลิตเครื่องมือการแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ สถานพยาบาลและผู้รับการรักษาต้องให้ความสำคัญในการร่วมกันรังสรรค์สินค้าเชิงสังคม (Social Product) เพื่อผลักดันประเทศไทยให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน