โรคแผลในกระเพาะอาหาร คือ แผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer) หรือ แผลที่เกิดบนเยื่อบุลำไส้เล็ก(Duodenal ulcer)

สาเหตุ

1. เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย H.pylori  เชื้อ H.pylori  สร้าง Urease enzyme  ซึ่งจะเปลี่ยนเป็น urea  เป็น Ammonia และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  โดย Ammonia จะไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร

2. เกิดจากการรับประทานยาที่ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร เช่น ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ( NSAIDs ) ผู้ป่วยที่รับประทานยา NSAIDs เช่น Diclofenac, Mefenamic เป็นต้น  ยาเหล่านี้จะไปลด prostaglandin ซึ่งเป็นสารป้องกันเยื่อบุกระเพาะอาหาร

ปัจจัยเสี่ยงของยา NSAIDs ที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร:

  • อายุมากกว่า 60 ปี
  • มีประวัติการมี เลือดออกในทางเดินอาหาร
  • การใช้ยาสเตียรอยด์
  • การใช้ยา NSAIDs ขนาดสูงหรือหลายตัวพร้อมกัน
  • มีโรคเรื้อรังอื่นๆ

3. ความเครียด

4. สูบบุหรี่, ดื่มเหล้า

อาการ

ปวดท้องเป็นๆ หายๆ แสบบริเวณกลางยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ (Heart burn) เวลาปวดสัมพันธ์กับมื้ออาหาร แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. แผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer) :  อาการปวดไม่จำเพาะเจาะจง และอาจปวดทางด้านซ้ายของท้อง อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ปวดหลังอาหารประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง  มักปวดหลังจากรับประทานอาหารแล้ว

2. แผลที่เกิดบนเยื่อบุลำไส้เล็ก (Duodenal ulcer)    :  ปวดบริเวณกึ่งกลางลิ้นปี่ ปวดร้าวไปที่หลังหรือไหล่  เป็นหลังอาหารประมาณ 1-3 ชั่วโมง หรือตอนกลางคืน  อาการปวดมักจะดีขึ้นหลังรับประทานอาหาร  ดื่มนม   ยาลดกรด  หรืออาเจียน

อาการแทรกซ้อน

มีเลือดออกในทางเดินอาหาร, อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระดำ, กระเพาะหรือลำไส้ตีบตัน, ปวดท้องรุนแรงหรืออาเจียนรุนแรง   ผู้ที่เป็นแผลที่กระเพาะอาหารเรื้อรังจากเชื้อ H.pylori  อาจมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้

การรักษา

ก. การรักษาโดยไม่ใช้ยา

  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา งดการรับประทานชา กาแฟ แอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  • ละ เลิก การสูบบุหรี่

ข. การรักษาโดยการใช้ยา

1. กลุ่มยาลดกรด , เคลือบแผล  เช่น

1.1 Antacids :  มีจำหน่ายหลากหลายยี่ห้อ  เช่น  Antacid gel, Alum milk , Bowa gel , Alugel เป็นต้น  ยาในกลุ่มนี้ ช่วยสะเทินกรดในกระเพาะอาหาร

1.2 H2 Blocker : เช่น Cimetidine, Ranitidine, Femotidine เป็นต้น   ยาในกลุ่มนี้จะไปยับยั้ง Histamine-2 receptor ทำให้ลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร

1.3 Proton Pump Inhibitor (PPIs)  เช่น Omeprazole, lansoprazole, Rabeprazole, Pantoprazole, Esomeprazole  ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร  โดยจะต้องรับประทานก่อนอาหาร 30 นาที

อาการข้างเคียงที่สำคัญ :  คือ ปวดศีรษะ, คลื่นไส้อาเจียน, ปวดท้อง, ท้องเสีย

1.4 Cytoprotectives

   1.4.1  Misoprostol  ยับยั้งการหลั่งกรดและเพิ่มการสร้างเยื่อบุกระเพาะอาหาร   ห้ามใช้หญิงตั้งครรภ์   อาการข้างเคียงที่สำคัญ คือ คลื่นไส้อาเจียน, ปวดท้อง, ท้องเสีย

   1.4.2  Sucrafate    ช่วยเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหาร  จึงป้องกันการทำลายจากกรดในกระเพาะอาหาร  โดยยานี้จะดูดซึมดีในสภาวะเป็นกรด    ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกับยากลุ่ม H2 Blocker หรือ  Antacid

อาการข้างเคียงที่สำคัญ  คือ ท้องผูก คลื่นไส้อาเจียน

2.ยาที่ใช้กำจัดเชื้อ H.pylori

สูตรยาหลักที่ใช้ในการกำจัดเชื้อ H.pylori :

PPIs + Claritromycin (500mg วันละ 2 ครั้ง) + Amoxycillin(1 g วันละ 2 ครั้ง)

สูตรที่ใช้กรณีที่ใช้สูตรหลักไม่ได้ :

PPIs + Bismuth (525mg วันละ 4 ครั้ง) +  Metronidazole (250-500 g วันละ 4 ครั้ง) + Tetramycin(500 mg วันละ 4 ครั้ง)

หมายเหตุ:

1. ระยะเวลาการรักษาควรให้ยานาน 14  วัน

2. หากไม่ใช้ยา Tetracycline สามารถใช้ยา Amoxycillin 500 mg วันละ 2 ครั้ง หรือ Claritromycin 250-500mg วันละ 4 ครั้ง แทนได้

3. สมุนไพรที่ใช้รักษาแผลในกระเพาะ ได้แก่ เปล้าน้อย, ขมิ้นชัน, กล้วยน้ำว้า


ข้อมูลจากฝ่ายเภสัชกรรม  โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์