แผนกรังสีวิทยา

เปิดให้บริการตรวจ วินิจฉัยด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย  โดยทีมรังสีแพทย์ที่มากประสบการณ์  เพื่อช่วยให้แพทย์สาขาต่างๆสามารถค้นหาสาเหตุและข้อมูลเกี่ยวกับโรคต่างๆอย่างละเอียดและชัดเจน
เครื่องเอ็กซเรย์ และอุปกรณ์ต่างๆ แผนกรังสีวิทยามีเครื่องเอ็กซเรย์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทันสมัยและเหมาะสมในการวินิจฉัยโรค  อาทิ

  • เครื่องเอกซเรย์ทั่วไป ( GENERAL X-RAY ) เป็นการใช้รังสีเอกซเรย์พลังงานต่ำ ถ่ายภาพอวัยวะผู้ป่วย ซึ่งสามารถเอกซเรย์ได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น ศีรษะ , ทรองอก , ช่องท้อง , กระดูกทุกส่วนของร่างกาย
  • เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ ( PORTABLE X-RAY ) เป็นการใช้รังสีเอกซเรย์พลังงานต่ำ ถ่ายภาพอวัยวะผู้ป่วย ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายเครื่องเอกซเรย์ไปในที่ต่างๆ เพื่อเอกซเรย์ผู้ป่วยได้ เช่น เอกซเรย์ผู้ป่วยที่เตียงผู้ป่วย , เอกซเรย์ผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยวิกฤติ , เอกซเรย์ผู้ป่วยที่ห้องผ่าตัด เป็นต้น
  • เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 16 สไลด์(CT Scan 16 Slice) เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 16 สไลส์ ทำให้ได้ภาพที่คมชัดก มีความรวดเร็วในการตรวจ การวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ และสามารถเอกซเรย์อวัยวะได้ทุกส่วนของร่างกาย
  • เครื่องเอกซเรย์เต้านม ( MAMMOGRAM ) เป็นการใช้เครื่องเอกซเรย์พลังงานต่ำเอกซเรย์บริเวณเต้านมโดยตรงทำให้สามารถ ตรวจพบมะเร็งระยะแรกก่อนการคลำพบก้อนที่เต้านมได้ในผู้ป่วยบางราย
  • เครื่องอัลตร้าซาวด์ ( ULTRASOUND ) เป็นการตรวจโดยใช้การสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูงแปลงสัญญาณเป็นภาพ ปรากฏบนจอมอนิเตอร์ ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัย เนื่องจากไม่ต้องใช้รังสีจึงไม่เป็นอันตรายต่อเด็กและหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถ อัลตร้าซาวด์อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น 1.ตรวจอัลตร้าซาวด์บริเวณศีรษะและลำคอ เช่น อัลตร้าซาวด์สมองทารก ต่อมธัยรอยด์ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ 2.ตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม 3.ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน เช่น ตรวจดู ตับ ถุงน้ำดี ตับอ่อน ไต ม้าม ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง เป็นต้น 4.ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง เช่น มดลูก รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก ไส้ติ่ง หญิงตั้งครรภ์ 5.อัลตร้าซาวด์ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กรณีที่สงสัยก้อนเนื้อผิดปกติ
  • Fluroscope เป็นเครื่องมือสำหรับเอกซเรย์ดูทางเดินอาหาร, ทางเดินปัสสาวะ, โพรงมดลูก, ท่อนำไข่ และอวัยวะอื่นๆ รูปที่ถ่ายเอกซเรย์จากผู้ป่วย จะแสดงผลที่หน้าจอ Monitor
  • เครื่องตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone Density)เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน ตรวจวัดหาค่าความหนาแน่นของมวลกระดูก ดูสภาวะกระดูกว่า ปกติ บาง หรือ พรุนมาก

โรงพยาบาลมีระบบการจัดเก็บภาพดิจิตอล หรือ Picture Archiving and Communication System (PACS) ซึ่ง เป็นระบบที่ทำให้เครื่องมือที่ใช้ในงานรังสีวิทยา มีความสะดวกในการติดต่อกันบนมาตรฐานทางคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดประโยชน์ในทางการวินิจฉัยของรังสีแพทย์มากขึ้น   สามารถนำภาพที่ได้จากเครื่องมือต่างๆ ทางรังสีวิทยา ออกมาแสดงผ่านกระบวนการทางคอมพิวเตอร์ไปยังแผนกต่างๆ ในโรงพยาบาล ซึ่งเราเรียกระบบดังกล่าวว่า Picture Archiving and Communication System(PACS) เป็นระบบที่จัดเก็บภาพรังสีวิทยาต่างๆ  เป็นไฟล์ทางคอมพิวเตอร์ ทำให้ง่ายในการนำไปใช้หรือเก็บรักษาทำให้โรงพยาบาลไม่เสียเนื้อที่ในการเก็บ  ลดขั้นตอนการหาฟิล์มเก่าของคนไข้  ทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลคนไข้ไว้ได้นาน   เพราะเป็นการเก็บไว้บน media ทางคอมพิวเตอร์ในขณะเดียวกันสามารถนำมาวินิจฉัยเปรียบเทียบ หรือเรียกดูภาพเก่าในเวลาไม่เกิน 5 วินาที พร้อมทั้งแพทย์สามารถเรียกภาพคนไข้คนเดียวกันได้ พร้อมๆ กันโดยไม่จำกัดจำนวนแพทย์ กรณีนี้จะเป็นประโยชน์ในกรณีที่คนไข้ต้องการความเร่งด่วน อย่างเช่นคนไข้ที่ประสบอุบัติเหตุ เมื่อมาเข้ารับการเอกซเรย์แล้วแพทย์ที่ทำการตรวจรักษาในแผนกต่างๆ หรือเอกซเรย์จะสามารถเรียกดูภาพได้พร้อมๆกันโดยไม่ต้องรอการนำส่งฟิล์มเหมือนในอดีต